Working languages:
Thai to English
English to Thai
Lao to English

Nathasitha Wongchanta
Business and medical professionals

Nikhom Khamsoi District, Mukdahan, Thailand

Native in: Thai Native in Thai, Lao Native in Lao
  • Send message through ProZ.com
Feedback from
clients and colleagues

on Willingness to Work Again info
10 positive reviews
1 rating (1.00 avg. rating)
What Nathasitha Wongchanta is working on
info
Jun 15, 2017 (posted via ProZ.com):  English>Burmese-CONTIFLO OD I-PSS_May 2017 Final ...more, + 1 other entry »
Total word count: 0

Account type Freelance translator and/or interpreter, Identity Verified Verified site user
Data security Created by Evelio Clavel-Rosales This person has a SecurePRO™ card. Because this person is not a ProZ.com Plus subscriber, to view his or her SecurePRO™ card you must be a ProZ.com Business member or Plus subscriber.
Affiliations
Blue Board affiliation:
Services Translation, Interpreting, Editing/proofreading, Website localization, Software localization, Voiceover (dubbing), Subtitling, Transcription, Training, Copywriting
Expertise
Specializes in:
Poetry & LiteratureBusiness/Commerce (general)
Finance (general)Sports / Fitness / Recreation
Marketing / Market ResearchReligion
Medical: Health CareLaw (general)
Medical: PharmaceuticalsAdvertising / Public Relations

Volunteer / Pro-bono work Open to considering volunteer work for registered non-profit organizations
Rates

All accepted currencies U. S. dollars (usd)
KudoZ activity (PRO) Questions answered: 2
Payment methods accepted PayPal, Wire transfer
Portfolio Sample translations submitted: 1
Thai to English: Pali in Thai Usage
General field: Art/Literary
Detailed field: Linguistics
Source text - Thai
บทที1
บทนำ
ความเป็นมา
ภาษาบาลีจัดอยู่ภาษาอินเดีย-ยุโรป ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย พวกอารยันได้เข้ามาในอินเดีย เมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตศักราช (ปรีชา ทิชินพงศ์, 2534 : 1) นักปราชญ์ทางภาษาได้แบ่งภาษาตระกูลอารยันในอินเดียออกเป็น 3 สมัย ดังนี้
1. ภาษาสมัยเก่า หมายถึงภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระเวท ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท รวมตลอดทั้งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายของคัมภีร์พระเวท (เวทานต์) ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้จะมีความเก่าแก่ลดหลั่นกันมาตามลำดับ ภาษาสันสกฤตก็จัดอยู่ในสมัยนี้ด้วย
2. ภาษาสมัยกลาง ได้แก่ ภาษาปรากฤตซึ่งเป็นภาษาถิ่นของชาวอารยันที่ใช้กันท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศอินเดีย เช่นภาษามาคธี มหาราษฏรี เศารเสนี เป็นต้น ภาษาในสมัยนี้มีลักษณะโครงสร้างทางเสียง และนอกจากจะเรียกว่าภาษาปรากฤตแล้วยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภาษาการละคร” เพราะเหตุที่นำไปใช้เป็นภาษาพูดของตัวละครบางตัวในบทละครสันสกฤตด้วย
3. ภาษาสมัยใหม่ ได้แก่ ภาษาต่างๆในปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี เบงกาลี ปัญจาบี มราฐี เนปาลี เป็นต้น ภาษาเหล่านี้แม้จะเข้าใจกันว่าสืบมาจากภาษาปรากฤต แต่มีลักษณะของภาษาผิดกันมาก เพราะมีภาษาตระกูลอื่นที่ไม่ได้สืบมาจากภาษาของชาวอารยันเข้าไปปะปนกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ภาษาบาลี เป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาพระเวท ภาษาบาลี คือ ภาษาที่ชาวมคธใช้พูดกันในแคว้นมคธ เรียกว่า “ภาษามาคธี” พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษานี้ประกาศพระศาสนาของพระองค์ ภาษามาคธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (เจิม ชุมเกตุ, 2525:3)
1. สุทธมาคธี เป็นภาษาของชนชั้นสูง คือภาษาของกษัตริย์หรือภาษาทางราชการ
2. เทสิยา หรือ ปรากฤต ได้แก่ ภาษาประจำถิ่น
พระพุทธเจ้าทรงใช้สุทธมาคธีเป็นหลักในการประกาศคำสั่งสอนของพระองค์ และในสมัยนั้นทรงเผยแผ่พระธรรมด้วยวิธีมุขปาฐะ โดยมิได้มีบันทึกหรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ภาษาบาลีนี้นำมาใช้บันทึกพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช ถือเป็นภาษาประจำพุทธศาสนานิกายหินยาน [เถรวาท] ส่วนศาสนานิกายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตบันทึกพุทธวจนะ (สุภาพร มากแจ้ง, 2535 : 4) และต่อก็ใช้ภาษาบาลีจารึกพระธรรมลงในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นตำราหลักทางพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับภาษาสันสกฤต คือใช้เป็นภาษาเขียนในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ได้ใช้พูดหรือใช้เขียนในชีวิตประจำวัน จึงไม่มีการเจริญเติบโต ไม่มีวิวัฒนาการเหมือนกับภาษาอื่นๆ และกลายเป็นภาษาตายในที่สุด
เหตุที่คำภาษาบาลีเข้ามาปะปนในภาษาไทย
เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในสู่ประเทศไทย และคนไทยได้ยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะคำสอนทางศาสนาเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต (สันสกฤต : มหายาน) ดังนั้นจึงได้เกิดคำภาษาบาลีและสันสกฤตใช้ในภาษาไทยมากขึ้น (วิสันติ์ กฎแก้ว, 2529 : 1) นอกจากการรับนับถือศาสนาพุทธแล้ว ไทยยังได้รับเอาความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งวรรณคดีบาลีและสันสกฤตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นส่วนทำให้เรารับคำภาษาบาลีและสันสกฤตซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เข้ามาใช้ในภาษาไทย สุธิวงศ์ พงษ์บูลย์ (2523 : 5) ได้กล่าวถึงเหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยว่า เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ สรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา เมื่อศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต และศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ในการเผยแผ่ศาสนา ไทยได้รับศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และรับคติของศาสนาพราหมณ์มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในลัทธิธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เราจึงรับคำในลัทธิทั้งสองเข้ามาใช้ในลักษณะของศัพท์ทางศาสนา และใช้เป็นศัพท์สามัญทั่วไปในชีวิตประจำวัน
2. ความสัมพันธ์ทางด้านประเพณี เมื่อชนชาติอินเดียได้เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ก็นำเอาประเพณีของตนเข้ามาปฏิบัติ ทำให้มีคำที่เนื่องด้วยประเพณีเข้ามาปะปนในภาษาไทย และนานเข้าก็ได้กลายเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทย เช่น ตรียัมปวาย มาฆบูชา ตักบาตรเทโว ดิถี กระยาสารท เทศน์มหาชาติ กฐิน จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ฉัตรมงคล พืชมงคล เป็นต้น
3. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม อินเดียเป็นประเทศที่เจริญทางด้านวัฒนธรรมมานาน อิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมของอินเดียมีต่อนานาประเทศทางภาคพื้นตะวันออกก่อนที่วัฒนธรรมตะวันตกจะเข้ามา ไทยได้รับอิทธิพลของอินเดียทุกสาขา เช่น
1. ศิลปะ ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น ทางดนตรีและนาฏศิลป์ ภาษาที่ใช้เนื่องด้วยเป็นศิลปะจึงเข้ามาปะปนในภาษาไทย เช่น มโหรี ดนตรี ปี่พาทย์
2. ดาราศาสตร์ อินเดียมีความเจริญทางด้านดาราศาสตร์มาช้านานจนมีตำราเรียนกัน เมื่อวิชานี้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย ทำให้คำต่างๆที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น สุริยคติ จันทรคติ จันทรคราส
3. การแต่งกาย ศัพท์ทางด้านวัฒนธรรมการแต่งกายที่ได้รับมาส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เช่น มงกุฎ ชฎา สังวาล
4. สิ่งก่อสร้าง คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง ส่วนใหญ่เป็นศัพท์ที่เรียกชื่อสิ่งก่อสร้างทางศาสนาและราชวัง เช่น นภศูล ปราสาท เจดีย์
5. เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ชาวอินเดียนำเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เราได้รับคำที่เรียกเครื่องมือเครื่องใช้นั้นๆเข้ามาใช้ด้วย เช่น อาวุธ ทัพพี คนโท
6. การใช้ราชาศัพท์ การใช้ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย ที่ต้องการแยกศัพท์ของคนสามัญชนออกจากศัพท์ที่ใช้กับพระราชาและเชื้อพระวงศ์ เป็นเหตุให้เรารับคำบาลีและสันสกฤต ซึ่งถือว่าเป็นภาษาที่สูงเข้ามาใช้ เช่น พระเนตร พระบาท พระกรรณ บางคำก็รับเข้ามาเป็นคำสุภาพ เช่น บิดา มารดา ฯลฯ
4. ความสัมพันธ์ทางด้านวิชาการ เนื่องจากวิทยาศาสตร์และวิทยาการเจริญกว้างขวางขึ้น ทำให้คำที่เราใช้อยู่เดิมแคบเข้า จึงจำเป็นต้องรับคำบาลี สันสกฤต เข้ามาใช้ เพื่อความเจริญและความสะดวก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แพทย์ เภสัช ฯลฯ
5. ความสัมพันธ์ทางด้านวรรณคดี วรรณคดีอินเดียมีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งวรรณคดีสันสกฤต และวรรณคดีที่เนื่องมาจากชาดกในพระพุทธศาสนา เมื่อเรารับเอาวรรณคดีเหล่านี้เข้ามา จึงมีศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวกับวรรณคดีเหล่านี้เข้ามามากมาย เช่น ครุฑ สุเมรู หิมพานต์ ฯลฯ

2.วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยและภาษาบาลี
2. เพื่อศึกษาคำและศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี

3.ขอบเขตการวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยดังนี้
1. ศึกษาประวัติความเป็นมาของภาบาลีตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
2. ศึกษาโครงสร้างคำในภาษาบาลีและภาษาไทย
3. เปรียบเทียบความแตกต่างของคำบาลี ในภาษาไทย

3. กรอบแนวคิดในการวิจัย









วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร Documentary Research โดยมีขอบเขตการวิจัย ตามลำดับ ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารชั้นปฐมภูมิ Primary Sourse
2. ศึกษาจากเอกสารทุติยภูมิ Secondary Sourse
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนธรรมด้วยภาษาบาลี และพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ก็บันทึกด้วยภาษาบาลี ในฐานะพุทธบริษัท จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหลักภาษาบาลี เพื่อเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ในการศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ในพระพุทธศาสนา
2. คนไทยรับภาษาบาลีเข้ามาใช้ในภาษาไทยมากมาย ทั้งศัพท์วิชาการ ศัพท์ศาสนา ศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใหม่ รวมทั้งชื่อของบุคคล สถานที่ต่างๆ การเรียนภาษาบาลีจึงเป็นประโยชน์ในการเข้าใจและบัญญัติศัพท์เหล่านี้ด้วย
3. ได้รับความรู้ในเรื่องภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะภาษาบาลี เพื่อจะได้แปลภาษาบาลีได้อย่างถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน และเข้าใจภาษาอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
Translation - English
Chapter 1
Introduction
Background
Pali classified as Indian – Europe, a family of languages with the suffix. 1,500 years before the Christian era, they came Aryan in India (Preecha Thichinapong, 2534: 1). In India, linguistic scholars have divided Aryan language family into three Ages;
1. Old Indic, the large body of texts originating in the Vedas. There are the Yajurveda, the Rigveda, the Samaveda, the Atharvaveda and the latest Vedic text is the
Upaniṣad. Languages are hierarchical-order used in various scriptures. Sanskrit is also considered in the period.
2. Middle Indic. Prakrit or Pracrit, a dialect of Aryan people used in local areas of India. It refers to three most structural prominent of them: Magadhi, Maharashtri and Sauraseni. The phrase "Dramatic Prakrit" is also called because of the languages themselves are used in some of the characters in Sanskrit plays.
3. Modern Indic refers to current languages such as Hindi, Bengali, Punjabi, Marathi and Nepali etc. The Indo- Arayan, Prakrit also give rise to the languages which are not considered to be Hindi despite being part of the same dialect continuum. It depends on historical construct.
Pali is a literary language of Prakit language family. It descended from a dialect, the Vedas. There is a persistent belief as to the relation of Pali to the vernacular spoken in the ancient kingdom of Magadha, which was located around modern-day, Bihar, called “Magahi”. It is believed to be the language declared Buddhism by the Lord Buddha. Language is divided into two categories (Jerm Chumgetha, 2525:3):
1. Suttha Magahi is the language of the elite. The language of the king or the official usage.
2. Dhesiya or Pakrit is a dialect.
The Lord Buddha used the Suttha Magahi as a basis for publishing the teachings. Meanwhile, he spread the Dharma orally. In the 3rd B.E as the first evidence, from the inscriptions of King Asoka the Great, Pali is considered the language for used to chronicle Lord Buddha utterance. It is best known as the language of Theravada Buddhism while Mahayana Buddhism originated it in Sanskrit (Supaporn Maakjaeng, 2535: 4) and Pali is then used for collecting Dharma scripts in the Tipitaka. It becomes the extant Buddhist texts. Pali language characteristics, however, are similar to Sanskrit; by only used as a written language in the Tipitak not in daily life. This becomes an extinct language in the end.
Pali in Thai Usage
When Buddhism was spread into Thailand, Thai people have accepted Buddhism as national religion. Thai people are required to study Pali and Sanskrit. Because of religious scripts are written as in Pali and Sanskrit (Sanskrit: Mahayana), so the Pali and Sanskrit words are more used in Thai (Wisan Kodkaew, 2529: 1) In addition to accept the religion, then, Thai people has adopted faith, tradition, rituals, as well as Pali and Sanskrit literature to be a part of Thai culture. Therefore, Thai people accept Pali and Sanskrit words relating to things that used in Thai (2523: 5). Suthiwong Pongboon said the cause of the Pali and Sanskri are mixed into Thai due to several reasons as follow;
1. Religious Relationship, when Brahmanism and Buddhism were spread into Thailand, Brahminism used Sanskrit for the religious propagation while Buddhism used Pali. In many traditions, especially in rituals, Thailand has been worshiped Buddhism as the national religion and possessed of Brahmanism into practice in daily life. We accept the doctrine, both to use in the nature of religious terminology and a very common words in everyday life.
2. Traditional Relation, when Indian people settled down in Thailand, they brought their culture into practice. As a result of traditional words mixed in Thai. Then, became involved with the daily lives of Thai as, Brahman rites associated with the giant swing, Makha Bucha Day, Tak Bat Devo (offering of food to Buddhist monks), Coronation Sermon, Mahachart Chanting, Kathina, Ploughing Ceremony and etc.
3. Cultural relations, India is a country of cultural growth for a long time. Its culture influenced other Eastern-Pacific countries before the westerns’. Thailand has been also the influenced by the Indian in many such as;
1. Art, Thai was influenced by India by both direct and indirect way such as music and dance. Language is considered as an art ,so it came mixing in Thai language e.g. the Mahori (a form of Thai and Cambodian classical ensemble which was traditionally played by women in the courts of both Central Thailand) and the Piphat ( a kind of ensemble in the classical music of Thailand)
2. Astronomy, India has the astronomical growth in a long time with their-own textbooks. When the knowledge spread into Thailand, it produced various astronomical words such as Suriya-Clas (solar eclipse) or Chan-dra-ra-kha-ti (lunar system).
3. Attir, Most of the terms of cultural dress are originated from names of King’s dress such as Mong-Kut (King's Crown), Cha-da (headdress) and Sung-Warn (breast chain).
4. Construction, most of Pali and Sanskrit words related to religious and royal construction; Nopa-Pa-Pa-Don (hollow spear of the sky) , Pra-Sart (castle) and Je-di (pagodas).
5. Tools that Indians brought in Thai words are Ar- wooth (weapons), Tup-pee (spatula) and Yuark (jug )
6. Reverence, using of reverence as one of the Thai culture aims to divide the vocabulary of ordinary people from the terminology used with the king and royalty. Therefore, we have received Pali and Sanskrit which is considered such the elite language for example “ Phra Nate (eyes), Pra Bata (foot), Phra Gun (ears) e ct. some words brought into Thai with polite forms such as Bida (father), Maan Da ( mother) etc.
4. Academic Relationship, Indian science and technology grow more widely. It narrows Thai vocabularies. Pali and Sanskrit usage in Thai helping modernized our terms and gave us convenience, such as (Vidhayu) radio, Dho-ra-tasa (television), Paet (a doctor) and Bhe-saj (a pharmacist) ect.
5. Literal Relation, Indian literature both in Sanskrit literature and the Buddhist literature has highly influenced Thai literature both. Terms related to the literature adopted from these literatures. Krud(garuda), Su-Me-Ru (Mount Meru), Himapan (The Himmavanta forest) etc.

2. Purpose of research
1. To compare differences in the structure of Thai and Pali
2. To study words and terms both in Thai and Pali

3. Scope of research
The scopes of the research are as follows
1. To study history of Pali from Buddhist era to the present era
2. To study structure of words in Pali and in Thai
3. To compare the differences of Bali words in Thai






3. Framework for research










Methodology
This is a documentary research which the purposes of the study is scoped of research as follows
1. To study documents from the primary source
2. To study documents from the secondary source



Expectation
1. The Lord Buddha taught and made his doctrine through Pali. As a Buddhist, it is necessary to study Pali as the tools for studying various kinds of Buddhist scriptures
2. Thai merged lots of Pali into it. Many technical terms and religious terminology that provide new vocabularies; person’s names and places. Therefore, studying Pali is useful in order to understand and enactment of these terms.
3. To gain Pali linguistic knowledge in order to be able to translated Pali correctly and to understand other relevant languages .

Translation education Master's degree - Chulalongkorn University
Experience Years of experience: 12. Registered at ProZ.com: Nov 2011.
ProZ.com Certified PRO certificate(s) N/A
Credentials Thai to English (UBU, verified)
English to Thai (UBU, verified)


Memberships N/A
TeamsAsiaTrans
Software Across, Adobe Illustrator, Adobe Photoshop, Aegisub, Indesign, memoQ, Microsoft Excel, Microsoft Word, Indesign, Transtool, Powerpoint, SDLX, Trados Studio, Wordfast
Professional practices Nathasitha Wongchanta endorses ProZ.com's Professional Guidelines (v1.1).
Bio
I am mixed between Thai-Lao with MA in Comparative Literature

Quality_Service_Reliability_450px
Keywords: Thai, translator, proof reader editor Thai, copywriter editor proof reader content writer, contnent writer proof reader editor, children stories editor, webmaster site designer writer proof reader editor publisher graphics, Thai proof reader editor english, editor children stories, activity stories need proofreading. See more.Thai, translator, proof reader editor Thai, copywriter editor proof reader content writer, contnent writer proof reader editor, children stories editor, webmaster site designer writer proof reader editor publisher graphics, Thai proof reader editor english, editor children stories, activity stories need proofreading, Thai erotic stories, need freelancer. See less.




Profile last updated
Sep 18, 2019



More translators and interpreters: Thai to English - English to Thai - Lao to English   More language pairs